วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Refresh your life คลายเหนื่อยล้าด้วยอาหาร


คุณเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม?...ตอน เช้าลุกออกจากเตียงไม่ค่อยไหว...ตอนบ่ายพลังงานลดลงตกต่ำและรู้สึกง่วงเหงา หาวนอน...พอถึงบ้านตอนเย็นก็ล้มฟุบลงบนโซฟาทันที ความรู้สึกเหนื่อย หมดแรง เมื่อยล้าเหมือนพลังงานถูกดูดออกไปหมดเกิดขึ้นได้กับทุกคน

แต่ถ้า ความรู้สึกอ่อนเพลียเช่นนี้เป็นปัญหาเรื้อรัง คุณอาจต้องมาหาสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย การอดหลับอดนอน การมีความเครียด การมีโรคภัยไข้เจ็บ การรับประทานยาบางชนิด และการมีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี

ทุกคนทราบดีว่าอาหารให้พลังงานกับร่างกาย แต่มีอาหารบางชนิดที่ทำให้ร่างกายอ่อนล้าได้เหมือนกัน ดังนี้เราควรเลือกรับประทานอย่างไรเพื่อให้มีแรงทำงานทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำต่อไปนี้



รับประทานอาหารมื้อเช้า
เริ่มต้นวันใหม่ คนส่วนมากมักเร่งรีบออกไปทำงาน ไปโรงเรียน โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการโภชนาการของร่างกายมากนัก ใครบ้างจะมีเวลารับประทานอาหารเช้า? อาหารเช้าจึงมักเป็นมื้ออาหารที่ถูกลืม

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่าอาหารเช้าเพิ่มสมาธิและความว่องไวไหวพริบ ช่วยป้องกันการรับประทานจุบจิบเกินจำเป็นในช่วงบ่าย และช่วยป้องกันโรคอ้วนได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานอาหารเช้าที่มีคาร์โบไฮเดรต แป้งที่มีเส้นใยอาหารสูงควบคู่กับอาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เต้าหู้ นม ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน

ตัวอย่างอาหารเช้าง่ายๆ เช่น แซนวิชทูน่า ขนมปังหน้าชีส โจ๊กข้าวโอ๊ตใส่ผลไม้แห้ง โยเกิร์ตโรยหน้าด้วยธัญญาหาร ไข่กวนหรือออมเลต ใส่ขนมปังปิต้า ข้าวกล้อง + ไข่พะโล้ + ผัดผัก ข้าวต้มปลา เป็นต้น ควรเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง (และส่วนมากมักมีไขมันสูงมาคู่กันด้วย) เพราะนอกจากมีแคลอรีสูง คุณค่าทางโภชนาการต่ำแล้วยังไม่ทำให้อิ่มท้องได้นาน ภายใน 1-2 ชั่วโมงอาจรู้สึกหิวอีก

เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
อาหารประเภทแป้งได้ถูกกล่าวหาว่าทำให้อ้วน ไม่ดีต่างๆ นานา แต่อาหารประเภทแป้งนี้จะถูกนำไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่ สุด หรืออีกนัยหนึ่ง คือร่างกายจะเลือกเอาแป้งมาใช้เป็นพลังงานก่อน การรับประทานอาหารแบบโปรตีนสูง แป้งต่ำ อาจทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าในระยะแรกๆ แต่ร่างกายจะเริ่มรู้สึกหมดแรงลงเมื่อรับประทานเช่นนี้ไปนานๆ

วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ร่างกายได้นำพลังงานไปใช้ให้ได้มากที่สุด คือการเลือกรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมากหน่อย และเลือกคาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาลน้อยหน่อย

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ complex carbohydrate ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ธัญพืช เมล็ดถั่ว (ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว เป็นต้น) และผักที่มีแป้งสูง ได้แก่ ผักหัวต่างๆ ผลไม้และน้ำผึ้งมีน้ำตาลฟรุคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว (simple carbohydrate) น้ำตาลในขนมหวาน น้ำหวานเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวเช่นกัน แต่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ อาหารประเภทนี้จะย่อยและให้พลังงานสูงสุดภายในระยะเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น